วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย

บทบาทของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐

สถาบันพระมหา กษัตริย์ ( Monarchy or Royal Autocracy )

ความหมายของพระมหา กษัตริย์
ความหมาย ของ “พระมหากษัตริย์” ตามรูปศัพท์ หมายถึง “นักรบผู้ยิ่งใหญ่” คำว่า “มหา” แปลว่า ยิ่งใหญ่และคำว่า “กษัตริย์” แปลว่า นักรบ ถ้าจะถือตามความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและความเข้าใจตามธรรมดาแล้วพระมหา กษัตริย์ก็คือพระเจ้าแผ่นดิน ในภาษาสันสกฤตคำว่า กษัตริย หมายถึง ผู้ป้องกันหรือนักรบ คติที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเรารับมาจากคำในภาษา สันสกฤตซึ่งมีความหมายสองนัยคือ คตินิยมแรกจากธรรมเนียมการใช้วรรณะของอินเดียซึ่งถือว่า“กษัตริย์” รวมถึงพวกนักรบด้วย และคติที่สองหมายถึงผู้ปกครองแผ่นดินซึ่งสืบเนื่องมาจากคตินิยมเรื่อง “มหา สมมติ” ซึ่งถือว่ามหาชนเป็นผู้เลือกกษัตริย์
มีคำเรียกพระมหากษัตริย์หลายคำเช่น ราชราชา พระราชา หรือราชัน หมายถึง ผู้ชุบน้อมจิตใจของผู้อื่นไว้ด้วยธรรม จักรพรรดิ หมายถึง ผู้ปกครองที่ปวงชนพึงใจและเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และใกล้เคียงกับคำว่า ธรรมราชา หมายถึง ผู้รักษาและปฏิบัติธรรมทั้งเป็นต้นเหตุแห่งความยุติธรรมทั้งปวง คำว่าพระ เจ้าอยู่หัว หมายถึง พระผู้เป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศ และคำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน(เขตคาม อธิปติ)ซึงเขียนไว้ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓
ไม่ว่าจะเลือกใช้คำใด คำว่า “ราชา” “กษัตริย์” “จักรพรรดิ” โดยความหมายแล้วน่าจะใช้เหมือนๆ กัน อย่างไรก็ดีในสังคมไทยเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ในหลวง” “พ่อ หลวง” “พ่อของแผ่นดิน” ความหมายก็คือ เป็นผู้ปกครองที่เปรียบเหมือนพ่ออยู่เหนือเกล้าเหนือชีวิตซึ่งชนชาวไทยมี ความจงรักภักดีชั่วกาลนาน
ความหมายของพระมหากษัตริย์ ในเรื่องการเมืองการปกครองของไทยที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์แต่เดิมมี แนวคิดสองประการคือ ประการแรกถือว่าพระมหากษัตริย์คือ หัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดกับหมู่คณะ และสำหรับความหมายประการที่สองคือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐในทางการเมืองหรือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดใน การปกครองโดยเฉพาะในยุโรปมีความเชื่อในเรื่องลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine right of King) และถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง ประเทศ รวมทั้งมีอำนาจโดยสมบูรณ์ (Absolute)
สำหรับประเทศไทยแนวคิดในเรื่องพระมหากษัตริย์เริ่มปรากฏชัดเจน ในยุคกรุงสุโขทัยโดยใช้คำว่า “พ่อขุน” ราษฎรมีความใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นเรียกว่าพ่อขุนก็พร้อมที่จะช่วยประชาชน โดยประชาชนที่ร้อนอกร้อนใจก็สั่นกระดิ่งเพื่อร้องขอให้พิจารณาอรรถคดีต่างๆ ได้ ทุกวันพระก็ชักชวนข้าราชบริพารและหมู่เหล่าปวงชนพร้อมใจกันฟังเทศน์รับ ศีลประชาชนใกล้ชิดผู้ปกครอง พ่อขุนใช้หลักครอบครัวมาบริหารรัฐและใช้หลักศาสนาเข้าผูกใจคนให้อยู่ร่วมกัน อย่างปกติสุข ดังนั้นพ่อขุนหรือพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยนั้นจึงเรียกว่า “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” หมายถึง พระมหากษัตริย์ที่ประชาชนและเหล่าอำมาตย์เลือกพระองค์ขึ้นปกครองประเทศ อย่างไรก็ดีในช่วงการเปลี่ยนแผ่นดินและศูนย์กลางความเจริญย้ายลงมาทางใต้ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเริ่มเจริญขึ้น การแพร่ของแนวคิดต่างๆที่อยู่รอบๆอาณาจักรใหม่ทั้งจากชาติตะวันตกที่เข้ามา ค้าขายและชนชาติเขมรหรือขอมก็เข้าสู่แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ในช่วงนี้ แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์จึงมีการผสมผสานหลากหลายขึ้น ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ใช่คนธรรมดาอย่างพ่อขุน แต่เป็นบุคคลที่มีความสามารถเป็นบุคคลที่สร้างชาติรวมแผ่นดิน แนวคิดทั้งของตะวันตกและของเขมร จึงทำให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการปกครองสูงสุดดุจได้รับเทวสิทธิ์และขณะ เดียวกันพระมหากษัตริย์ทรงใช้หลักการปกครองโดยมีหลักศาสนากำกับ เพราะพระมหากษัตริย์มีคติราชประเพณี ทศพิธราชธรรมและทรงมีพระมโนธรรมกำกับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงอยู่คู่กับราษฎรไทยเสมอมา
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญเกือบจะทุกฉบับรับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยองค์พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทยพ.ศ. ๒๕๕๐ก็เช่นกัน
ฐานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยคือ ทรงเป็นประมุขของประเทศและยังทรงใช้อำนาจอำนาจอธิปไตยทางสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
สำหรับรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช ๒๕๕๐ รับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ไว้เช่นกันเช่น ในมาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และในมาตรา ๓ อธิบายไว้ว่า “อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัคราสนูปถัมภกคือองค์ประธานในการทำนุบำรุศาสนาทุกศาสนาให้ดำรง อยู่ และในมาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ไทย นอกจากนี้ยังมีมาตราอื่นท่านที่ สนใจศึกษาได้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เพิ่มเติม
จากอดีตจน ถึงปัจจุบัน คนไทยเราอยู่และคุ้นเคยกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมากพระมหากษัตริย์ ไทยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อให้พสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข ท้องถิ่นใดเดือดร้อนทรงพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรงพระราชทานฝนหลวง ทรงดับร้อนผ่อนทุกข์เข็ญ ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ ทรงเป็นแบบอย่างในการดำเนินวิถีชีวิตแบบพอเพียงให้แก่ปวงชนชาวไทยที่หลงใน โลกวัตถุ ตามกระแสจนกลายเป็นทาสความคิด ทรงปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดของผู้คนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และใน วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษาองค์การสหประชาชาติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “เกียรติยศ เพื่อการพัฒนา” พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนแก่ปวงชนชาวไทย ทรงประกอบพระราชกรณียกิจทุกวันทุกเวลาและทุกสถานที่ก็เพื่อปวงชนชาวไทย วันนี้ปวงชนชาวไทยทำอะไร เพื่อพระมหากษัตริย์ของเราพระองค์นี้เต็มศักยภาพของตนเองหรือยัง ดังนั้นในวันที่ ๕ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๕๐ จะเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงเจริญพระ ชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ท่านนึกได้หรือยังว่าท่านจะทำอะไรถวายในหลวงของเราและถวายท่านตลอดไป ปีนี้ ปี ๒๕๕๒ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนพรรษาเพิ่มขึ้นพระราชกรณียกิจก็เพิ่มมากขึ้นตาม เราคนไทยทำไมจึงทำให้พระมหากษัตริย์ของเราต้องเหน็ดเหนื่อยอย่างนี้
ความ สำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนี้เป็นสถาบันปกครองอันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับแผ่นดินไทยมาแต่โบราณ กาล มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นเดิน ก่อร่างสร้างเมือง ตั้งแต่อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทยทุกๆ คน ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินพระราชอำนาจไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของประชาชน ฐานะของพระองค์เป็นพ่อขุนมีความใกล้ชิดประชาชน พอเข้าสมัยกรุงศรีอยุธยาฐานะ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพหรือเป็นเทวดาโดยสมมุติ และทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองทรงเป็นองค์อธิปัตย์สูงสุดในการปกครองบ้าน ปกครองเมือง ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรม โดยมีทศพิธราชธรรมและธรรมะหลักสำคัญต่างๆ ในการปกครองจนทำให้ ไพร่ฟ้าประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทรงครองราชย์ป้องเมืองทำนุบำรุงบ้าน เมือง ศาสนา และสังคม จวบมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิทรงเสื่อมถอย และสถาบันพระมหา กษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง
ประเภทของสถาบันพระ มหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท พอสรุปได้ดังนี้
๑. พระ มหากษัตริย์ในระบบฟิวดัล(Feudal Monarchy) คือ การที่สถาบันพระมหา
กษัตริย์มีพระราชอำนาจ เหนือแผ่นดินและเพื่อตอบแทนเหล่าขุนนาง พระมหากษัตริย์ในระบอบนี้จึงให้ ที่ดินเป็นการตอบแทนเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานของเหล่าขุนนาง เป็นการลด ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองและขุนนางระดับต่างๆอีกทั้งเป็นการประสาน ประโยชน์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และขุนนางให้การบริหารรัฐเป็นไปโดยสงบ
๒. พระมหากษัตริย์ในลัทธิเทวสิทธิ์ จากลัทธินี้จึงมีความเชื่อว่าสถาบันพระมหา กษัตริย์ เกิดจากอำนาจของพระเจ้า พระมหากษัตริย์จึงเป็นเจ้าชีวิตเป็นเจ้าของแผ่นดินพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจ อันชอบธรรมโดยโองการของพระเจ้า ในการปกครองประชาชนทุกคนต้องยอมรับและปฏิบัติตนตามโองการของพระเจ้า สถาบัน พระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสมบูรณ์ เราจึงเรียกการปกครองลักษณะนี้ว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” แต่ทั้งนี้การปกครองอยู่บนรากฐาน ของหลักของศีลธรรมอันดีงามที่เป็นแนวปฏิบัติมาแต่โบราณกาล
๓. พระมหากษัตริย์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวคิดนี้เริ่มพัฒนาเมื่อมี ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้ามา ทำให้การปกครองเปลี่ยนรูปแบบไป แนวคิดนี้เชื่อในเรื่องปัจเจกบุคคลและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วนในการ ปกครอง และยังเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองนั้นเป็นของประชาชนทุกๆ คน ดังนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเท่ากับเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองหรือเป็น ประมุขของประเทศ
๓.๒.๓ สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับสังคมไทยมานานแล้ว และเท่าที่ ปรากฏในหลักฐานนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า สังคมไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ในการปกครองบ้าน เมืองมาตั้งแต่ครั้งสมัยอาณาจักรสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้น และสถาบันพระมหา กษัตริย์ในสมัยนั้น ก็มีรูปแบบการปกครองที่ใกล้ชิดกับพลเมือง โดยฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัย นั้นมีฐานะเป็นผู้นำที่เรียกทั่วๆไปว่า “พ่อขุน” การ ปกครองจึงเป็นแบบพ่อปกครองลูก และพ่อขุนก็เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการ ปกครองประเทศ พ่อขุนใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยการที่พ่อขุนเป็นผู้ออกกฎหมาย คำพูดของพ่อขุน เป็นคำสั่ง และในขณะเดียวกันก็เป็นกฎหมายด้วย สำหรับอำนาจบริหารพ่อขุนทำหน้าที่ในการ บริหารอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นศูนย์กลางการบริหารอำนาจต่างๆ ดังนั้นอำนาจต่างๆจึงมาจากราชธานีส่วนกลาง และอำนาจตุลาการนั้นพ่อขุนทรงเป็นผู้พิจารณาอรรถคดีต่างๆ และประชาชนคนใดที่มีทุกข์ใจ มีปัญหาใดๆก็เข้ามาสั่นกระดิ่ง ร้องฎีกา ในวันพระพ่อขุนก็จะลงตัดสินคดีความโดยตัวพ่อขุนเอง จะเห็นได้ว่าพ่อขุนเป็น ผู้มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว เป็นผู้มีและผู้ใช้อำนาจอธิปไตยสูงสุดแต่พียงผู้เดียว การปกครองรูปแบบนี้ เรียกว่า การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยอำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆ เดียว แต่พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่สามารถทำอะไรที่ผิดทำนองคลอง ธรรมได้ อย่างไรก็ดีในสมัยนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอำนาจใดๆ มาจำกัดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในทางปฏิบัติสถาบันพระมหากษัตริย์ยังต้องปฏิบัติตามหลักของศีลธรรมหลักของ ศาสนา ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักธรรมที่ใช้ในการปกครองที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ราชสังคหะวัตถุหรือจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ เป็นต้น เราจึงเชื่อว่าฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นเจ้า ชีวิต ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินหรือพระเจ้าแผ่นดินและทรงเป็นธรรมราชาอีก ด้วย การปกครองแบบพ่อปกครองลูกรูปแบบการปกครองนี้ก็อยู่กับสังคมไทยมาจนกระทั่งมี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบค่อยเป็นค่อยไป จากการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยอาณาจักรกรุงสุโขทัยมาเป็นการปกครองแบบ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมแนวคิดเรื่องฐานะของพระมหากษัตริย์จึงเปลี่ยนไป และใช้แนวคิดนี้จวบจนสิ้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เข้าสู่ยุคอาณาจักรกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ยังทรงใช้รูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกลุ่มต่างๆที่ตั้งขึ้นมาอย่างอิสระ และเมื่อมีการสถาปนาอาณาจักรใหม่ คือ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ มีเมืองหลวงชื่อ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์... ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ก็ยังทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จนมาถึงสมัยรัชการที่ ๕ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีนโยบายเรื่องการเมืองการปกครองที่ทันสมัยโดยให้เชื้อพระวงศ์และขุนนาง ไปดูงานและศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศที่เจริญ เช่น อังกฤษ เพื่อมาทดลองในประเทศไทยบ้าง พอเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงทดลองเมืองประชาธิปไตย ที่เรียกกันติดปากว่า “ดุสิตธานี” ทำให้การเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ค่อยๆ พัฒนาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ฐานะของพระมหากษัตริย์ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่มีทรงพระราชอำนาจสูง สุดเพียงผู้เดียวอำนาจนั้นมอบให้แก่ประชาชนและพระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าพระราชอำนาจในทางการเมืองจะลดน้อยลงแต่พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยก็ อยู่ในหัวใจของชาวไทยทุกผู้ทุกนาม พระมหากษัตริย์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและแผ่นดินไทยอย่างหา ที่เปรียบมิได้ ในยามที่ประเทศชาติและการเมืองวุ่นวายระส่ำระสาย มีหลายครั้งหลายคราวที่พระ มหากษัตริย์พระองค์ท่านทรงเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนในยามที่ประเทศทุกข์ยาก หรืออาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์ไทยอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องพระมหากษัตริย์ไว้ในมาตรา ๘-๒๕ นักศึกษาควรศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียด ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาประชาชน ทั่วไปก็ต้องศึกษารัฐธรรมนูญ เรามาเริ่มอ่านและศึกษาอย่างช้าๆ ไปด้วยกัน ท่านใดที่ต้องการศึกษารัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาเรียนได้ฟรีแต่ให้มาเป็นกลุ่มๆละ ๑๐-๒๐ คน ภาควิชาสังคมศาสตร์ มทร.ล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก จะจัดกลุมสนใจให้และเป็นการบริการความรู้ให้สังคม ไม่เสียค่าใช้จ่ายฟรี ทุกรายการ แต่อย่าลืมห่อข้าวกลางวันมารับประทานเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น